วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

:: การปกครองสมัยสุโขทัย ::


การปกครองสมัยสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์ อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่ง กรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อ กันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ ในปีพ.ศ.1981

อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้

1. ทิศเหนือ มีเมืองแพร่ ( ปัจจุบันคือจังหวัดแพร่ ) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด

2. ทิศใต้ มีเมืองพระบาง ( ปัจจุบันคือจังหวัดนครสวรรค์ ) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้

3. ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด ( ปัจจุบันอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ

4. ทิศตะวันออก ถึงเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ




การสถาปนาอาณาจักร

เมื่อต่อมาเกิดความขัดแย้งบางประการ ทั้งอาจจะเกิดจากขอมสบาดโขลญลำพงโดยตรงหรือไม่ก็ตาม แต่น่าจะกระทบกระเทือนต่อ ราชวงศ์นำถุม ( ผาเมือง ) และราชวงศ์พระร่วง จึงส่งผลให้พ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมือง ต้องร่วมมือกันชิงเอาสุโขทัยคืนจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 1781 จากนั้น พ่อขุนผาเมืองก็กลับยกเอาเมืองสุโขทัย พระแสงขรรค์ชัยศรี และพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ ให้กับพ่อขุนบางกลางหาว และหายไปจากประวัติศาสตร์จากนั้นเป็นต้นมา ซึ่งมีการสันนิษฐานไปต่างๆนานา ทั้งการไปครองเมืองที่ใหญ่กว่า หรือกลับไปครองเมืองราดตามเดิมอย่างสงบ

แม้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ปกครองสุโขทัยแล้ว กิจการเมืองก็ยังไม่สงบเรียบร้อยดังปรากฏว่ามี ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ยกทัพเข้ามาตีเมืองตาก และท้ายที่สุดเกิดยุทธหัตถี ระหว่างขุนสามชน กับ รามราช พระโอรสองค์เล็กของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผลคือพระโอรสองค์เล็กได้รับชัยชนะ และได้รับการเฉลิมพระนามว่ารามคำแหง หลังพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต พ่อขุนบานเมือง พระโอรสองค์โต และ พ่อขุนรามคำแหง พระโอรสองค์เล็ก ก็ได้ปกครองสุโขทัยต่อตามลำดับ โดยในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงได้ประกอบพระกรณียกิจไว้มากมาย ทั้งการขยายดินแดน ซึ่งเดิมเชื่อว่าทรงได้พื้นที่จากพงสาลี จรดแหลมมลายู แต่ปัจจุบันหลักฐานหลายชิ้นระบุอาณาเขตไว้ใต้สุดเพียงเมืองพระบาง นอกจากนี้ด้านศาสนายังมีการประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์อีกด้วย



พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น

ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุนจนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้า บ่าวกับนายไป พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนบุตร

ตอนต้น

การปกครองสมัยสุโขทัยมีลักษณะสำคัญ 4 ประการคือ

1. รูปแบบราชาธิปไตร หมายถึง ผู้เป็นพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด

2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงมีความใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าว่า พ่อขุน

3.ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้นๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มีพ่อบ้านเป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มีพ่อเมืองเป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มีพ่อขุนเป็นผู้ปกครอง

4. การยึดหลักธรรมในพระพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง

การปกครองแบ่งเป็น 2 แบบ

1. แบบพ่อปกครองลูก ( ปิตุลาธิปไตย )

สุโขทัยมีลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ผู้ปกครองคือ พ่อขุน ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงโปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และโปรดให้สร้างพระแทนมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง การปกครองแบบพ่อปกครองลูก ( ปิตุลาธิปไตย ) ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น

2.แบบธรรมราชา

การปกครองแบบธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ปฏิบัติธรรมหรือ กษัตริย์ผู้มีธรรม ในสมัยของ1 มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรง เกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่าง เดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระ มหาธรรมราชาที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบธรรมราชา ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ 1 - 4

ด้านการปกครองส่วนย่อยสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้

ในแนวราบ

จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้

ในแนวดิ่ง

ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ

  1. พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา หากมีโอรสก็จะเรียก " ลูกเจ้า "
  2. ลูกขุน เป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในราชสำนัก เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า
  3. ไพร่หรือสามัญชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร ( ไพร่ฟ้า )
  4. ทาส ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ ( อย่างไรก็ตามประเด็นทาสนี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่ )


ลักษณะการปกครองแบ่งออก เป็น 3 ส่วน

1. เมืองหลวง - สุโขทัย

2. หัวเมืองชั้นใน - ทิศเหนือ เมืองศรีสัชชนาลัย ( สวรรคโลก )

ทิศตะวันออก เมืองสองแคว ( พิษณุโลก )

ทิศใต้ เมืองสระหลวง ( พิจิตร )

ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร

3. หัวเมืองชั้นนอก ( เมืองพระยามหานคร ) ได้แก่ เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ เมืองแพรก

( สรรค์บุรี ) เมืองสุพรรณบุรี ( อู่ทอง ) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองตะนาวศรี

นอกจากนี้ ยังมีเมืองประเทศราช ได้แก่

ทิศตะวันออก - เมืองน่าน เมืองเซ่า ( เมืองหลวงพระบาง ) เวียงจันทร์ เวียงคำ

ทิศใต้ - เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์

ทิศตะวันตก - เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี

ตอนปลาย

การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์

ราชธานีสุโขทัย

สุโขทัยถือกำเนิดขึ้นอย่างเรียบง่ายจากการพัฒนาของหมู่บ้านเล็กๆ ที่เติบโตขึ้นเป็นเมือง กระจายตัวอยู่ตามแนวลุ่มน้ำยมและน่านครั้นก่อน พ.ศ. 1700 การคมนาคมและการค้าต่างๆได้ขยายตัวมากขึ้นเมืองที่อยู่ ตามลุ่มน้ำยมและน่านที่เป็นเส้นทางผ่านการค้าระหว่างรัฐต่างๆก็เริ่มรวม ตัวกันมากขึ้น สุโขทัยเริ่มมีฐานะเป็นแว่นแคว้นขึ้นมาป็นครั้งแรกโดยมี พ่อขุนศรีนาวถมเป็นพ่อเมือง และเป็นช่วงที่อิทธิพลขอมเริ่มเสื่อมลงด้วย ทำให้สุโขทัยเป็นปึกแผ่นมากขึ้น หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุวุ่นวายขึ้น โดยมีขอมพวกหนึ่งชื่อว่า "ขอมสบาดโขลงลำพง" ได้เข้ายึดเมืองและ เป็นไปได้ว่า พ่อขุนศรีนาวถมได้เสียชีวิตไปแล้วในช่วงนี้ พ่อขุนผาเมือง ซึ่งครองเมืองราดอยู่จึงร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวรวมกำลังไปชิง เมืองสุโขทัยคืนมาได้สำเร็จ พ่อขุนผาเมืองจึงยกเมืองให้พ่อขุนบาง กลางหาวพร้อมทั้งมอบนาม "ศรีอินทราบดินทราทิตย์" ให้ด้วย อันเป็น ช่วง พ.ศ.1778

หลังจากนั้นการขยายอาณาเขตของสุโขทัยก็เริ่มขึ้นถือเป็นช่วงเวลาของ การกวาดต้อนผู้คนและรวมบ้านรวมเมืองให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร หลังจากพ่อขุนศรีอิทราทิตย์สิ้นพระชนม์ พ่อขุนบานเมืองซึ่งเป็นพระราชโอรส ได้ปกครองต่อ แต่ก็นับเป็นช่วงสมัยที่สั้นมาก เพียง 44 ปีนับตั้งแต่พ่อขุน ศรีอินทราทิตย์ ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาของการรวมแว่นแคว้นให้เป็นปึกแผ่น

พ่อขุนรามคำแหง

กษัตริย์ผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดของกรุงสุโขทัย คือโอรสองค์ ที่ 2 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระองค์มีชื่อเสียงในฐานะผู้สร้างกรุงสุโขทัย ให้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด เป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์อักษรไทยและสร้างศิลาจารึก ในยุคนี้ขอบเขตของอาณาจักรสุโขทัยได้แผ่ขยายออกไปมากที่สุด โดยในเรื่อง ของระบบเศรษฐกิจนั้นก็เป็นระบบแบบเปิดเสรี คือ ไม่มีการเก็บภาษีทำให้สุโขทัย เติบโตขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ และเป็นแหล่งรวมวัมนธรรมอันหลาก หลายแห่งแว่นแคว้นนี้

เมื่อสิ้นแผ่นดินพ่อขุนรามคำแหง กรุงสุโขทัยเริ่มอ่อนกำลังลง พระมหาธรรมราชาที่1 หรือ พระยาลิไทย ผู้ปกครองสุโขทัยอยู่ในช่วงประมาณปีพ.ศ.1890-1913 จึงได้นำ พระพุทธศาสนาเข้ามาฟื้นฟูการปกครอง และทรงขยายอำนาจด้วยการทำสงครามพร้อมๆ กับการเผยแพร่ศาสนา แต่หลังจากสิ้นสมัยของพระองค์แล้ว อาณาจักรสุโขทัยก็เริ่มอ่อน แอลงอย่างแท้จริง พร้อมๆกับที่แว่นแคว้นอื่นเข้มแข็งขึ้น ล้านนาขยายอำนาจลงมาจนถึง ลุ่มแม่น้ำยม-น่าน แคว้นละโว้-อยุธยาเข้มแข็งขึ้นจากการรวมตัวกับสุพรรณบุรีที่ครอง อำนาจอยู่เหนือลุ่มแม่น้ำท่าจีน จนในที่สุดก็ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นได้สำเร็จในปี พ.ศ.1893 หลังจากนั้นไม่นานอาณาจักรสุโขทัยก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น